ENGAGEMENT ANGLE | ARTICLES | AsiaBike (asiabike.com )
Find a retailer CustomerRegister History Subscribe CALL CENTER +66 81 133 0063
 


ARTICLES

Promotion !!

Event & NEWS

innovation

  » BMC Innovations

  » Vittoria Innovations

  » BH Innovations

  » Ridley Innovations

  » HOPE Innovations

  » DT Swiss Innovations

  » Reynold Innovations

  » Look Innovation

  » Lameda Innovation

  » EKOI Innovations

  » LIMAR Innovation

  » FAST Innovation

  » Corima Innovation

Product Review

Technique

  » Elite Trainer

ENGAGEMENT ANGLE
โดย Pattharanit , 18/10/2021 15:05 , ผู้ชม 601 , หัวข้อ : DT Swiss Innovations

มุมปะทะ (Engagement Angle)

ประเด็นเรื่องมุมปะทะ (Engagement Angle) เป็นอะไที่ถกเถียงกันในวงการจักรยานขณะนี้ว่า อะไรคือ Engagement Angle และมีผลต่อประสิทธิภาพของนักปั่นจักยานอย่างไร และมุมปะทะ Engagement Angle ดังที่เคยมักจะกล่าวทั่วไปว่า  "ยิ่งมีมุมปะทะมาก ก็จะยิ่งดีกว่า" นั้น จริงหรือไม่   

มุมปะทะ (Engagement Angle)

Engagement Angle คือ ระดับสูงสุด ซึ่ง Freehub จะสามารถหมุนได้จนกว่าฟันเฟืองของระบบ Freehub จะสามรถเข้าที่ได้และเร่งอัตราความเร็วของศูนย์กลาง ซึ่งจะคำนวณโดยใช้ 360º องศา หารด้วยจำนวนจุดทีปะทะของระบบ Freehub  

1

36 จุด ของ Engagement Angle = 10º องศา

ประสิทธิภาพในการปั่นจักรยาน

ตอนนี้ เราทราบกันแล้วว่า มุม Engagement Angle คืออะไร คำถามคือ มุมนี้จะส่งผลต่อการปั่นจักรยานตอนไหนและอย่างไร

ฟันเฟือง

คันเหยียบบันใด

มุม Engagement Angle

หมายเหตุเพิ่มเติม

บทสรุป

ฟันเฟือง

ฟันเฟือง (Backlash) 

ฟันเฟือง - คือระยะรอบเดินเบาสูงสุดที่ข้อเหวี่ยงสามารถหมุนได้ก่อนที่กลไก Freehub เกิดการปะทะและแปลงแรงบนขาจานเป็นอัตราเร่งของล้อ ฟันเฟืองได้รับอิทธิพลจากปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ ความยาวขาจาน อัตราทดเกียร์ และมุมปะทะ

ความยาวขาจาน (Crank Length) และมุมปะทะ Engagement Angle ได้สัดส่วนกับระยะรอบเดินเบาของขาจานหรือไม่ ซึ่งในทางกลับกัน อัตราทดเกียร์จะมีผลตามสัดส่วนผกผันกับฟันเฟือง

2

อัตราทดเกียร์ยิ่งน้อย ระยะรอบเดินเบาสูงสุดของข้อเหวี่ยงก็จะยิ่งมากขึ้น

แล้วฟันเฟืองเล็ก ๆ มีความสำคัญตอนไหน? ฟันเฟืองเล็กๆ มีความสำคัญในช่วงที่ต้องปั่นขึ้นเนินเขา และ/หรือในสถานการณ์ที่จำเป็นต้องเร่งความเร็วโดยทัน 

 

การเหยีบคันเร่ง (Pedal kickback)

การเหยียบคันเร่ง

การเหยียบคันหยียบ (Pedal Kickback) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะกับจักยานแบบ Full Suspension เท่านั้น เกิดจากความตึงของโซ่ระหว่างการกดทับของช่วงล่าง ซึ่งทำให้ขาจานเคลื่อนที่ไปข้างหลัง นอกจากนี้ ความตึงของโซ่นี้ยังป้องกันไม่ให้ระบบกันสะเทือนเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ แต่ทว่า คันเหยียบมีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับ Engagement Angle

3

ในการอธิบายผลกระทบโดยละเอียดยิ่งขึ้นนั้น อันดับแรก เราตั้งสมมติฐาน 2 ข้อ โดยสมมติฐานแรก คือ ล้อหลังถูกยึดไว้แน่นและไม่สามารถหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือทวนเข็มนาฬิกาได้ ในขณะที่สมมติฐานที่สองที่เกิดขึ้นคือ เราอยู่ในสภาพคงที่ (static situation) ซึ่งหมายความว่า 

เราปล่อยความเร็วของจักรยานไว้แบบนั้น  

4

จะเกิดอะไรขึ้นหากระบบกันสะเทือนหลังถูกบีบอัด?

1. โช้คหลังของจักรยานบีบอัด

2. ล้อหลังเคลื่อนที่ไปรอบๆ จุดหมุน

3. ระยะห่างระหว่างกะโหลกกับเพลาล้อหลังเปลี่ยนไป สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้น หากจุดหมุนของ Swing Arm หลังอยู่ที่กะโหลกจักรยานพอดี

4. เป็นสาเหตุให้ความยาวของโซ่เปลี่ยนไปและทำให้ขาจานหมุนไปข้างหลัง

5

อะไรคือปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบการกันการสั่นสะเทือนบ้าง  

หากขาจานไม่สามารถหมุนได้ ความตึงของโซ่จะรักษาระยะห่างระหว่างกะโหลกจักรยาน (Bottom Bracket) กับเพลาหลัง (Rear Axle) ให้คงที่ 

ซึ่งจะป้องกันไม่ให้ Swing Arm เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระและระบบกันสะเทือนไม่สามารถรับแรงกระแทกได้

มุมปะทะ (Engagement Angle)

การเหยียบคันเร่ง (Pedal Kickback)

การเหยียบคันเร่ง (Pedal Kickback) เกี่ยวข้องอย่างไรกับจุดเข้าปะทะ เพื่อให้เราสามารถทำความเข้าใจถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลของมุมปะทะ 

ซึ่งมีต่อคันเหยียบ คือ การปะทะทันทีและไม่มีการปะทะ


การปะทะทันที (INSTANT ENGAGEMENT)  

การปะทะทันที (Instant Engagement) จะทำได้ด้วยระบบ Freehub ซึ่งมีจุดปะทะ points of engagement (POE) ไม่จำกัดจำนวน 

และไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดๆ  Freehub Body ของคุณก็จะยังคงยึดติดใน Hub Housing   อีกทั้ง Freehub Body ก็จะสามารถ

หมุนทวนเข็มนาฬิกาได้ แต่ไม่สามารถเคลื่อนที่ตามเข็มนาฬิกาได้

*ขึ้นอยู่กับหลักจลนศาสตร์และความเร็วในการปั่นจักรยาน

6

เมื่อระบบกันสะเทือนถูกบีบอัด ระยะห่างระหว่างกะโหลกกับเพลาหลังจะยิ่งเพิ่มขึ้น (ขึ้นอยู่กับหลักจลนศาสตร์ของจักรยานประเภทนั้นๆ)

การเปลี่ยนแปลงในส่วนของความยาวโซ่จะได้รับการชดเชยจากตีนผี (Derailleur) หรือจากตัวช่วยดันโซ่ (Chain Tensioner) เหตุผลที่ว่า 

Freehub จะสามารถเคลื่อนที่ทวนเข็มนาฬิกาได้เท่านั้น โซ่จึงตึงไปข้างหลัง ซึ่งทำให้ขาจานเคลื่อนที่ไปข้างหลังได้ด้วยเช่นกัน 

หากขาจานถูดยึดไว้จะไม่สามารถเปลี่ยนระยะห่างระหว่างกะโหลกจักรยาน (Bottom bracket) กับเพลาหลัง (Rear Axle) ได้ ซึ่งจะป้องกันไม่ให้ suspension เคลื่อนที่

7

ไม่มีการปะทะ (NO ENGAGEMENT)

จุดปะทะเป็น (0 POE)

 คุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ของ Freehub คือ ไม่มีจุดปะทะ (Point of Engagement: POE) ซึ่งนั่นหมายความว่า ตัว Freehub 

สามารถหมุนได้อย่างอิสระทั้งสองทิศทาง

ด้วยตำแหน่งเริ่มต้นนี้ Freehub สามารถเคลื่อนที่ในทิศทางตามเข็มนาฬิกาได้แล้ว แม้ว่าในขณะนั้น ขาจานจะถูดยึดไว้โดยน้ำหนักตัว

ของนักปั่นจักรยานก็ตาม แต่ส่วนท้าย (Rear End) ก็สามารถทำงานได้อย่างอิสระ เนื่องจากโซ่สามารถเคลื่อนตามเข็มนาฬิกาเหนือ Cassettes ได้

หมายเหตุ Cassettes คือ ชุดของเฟืองที่ต่อกับฮับด้านหลังของจักรยาน แต่ละตลับมีเฟืองหลายตัวที่สัมพันธ์กับเกียร์ที่แตกต่างกัน 

8

ตัวอย่างการเหยียบคันเร่ง (Pedal Kickback)

สมมติว่า จักรยานมมีมุม Pedal Kickback อยู่ องศา ที่แรงกระแทก 50 มม. ด้วยอัตราทดเกียร์ 32/14 นั่นหมายถึงอะไรสำหรับ Freehub?

เพื่อให้เข้าใจถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อมุมปะทะ Engagement Angle บนคันเหยียบบันได คุณจำเป็นต้องรู้ว่า Freehub จะหมุนไปมากแค่ไหน ในการนี้ 

สามารถคำนวณได้โดยการนำระยะองศาของ pedal kickback คูณด้วยอัตราทดเกียร์

9

ในระบบที่ไม่มี POE นั้น Freehub จะสามารถหมุนได้อย่างอิสระตามมุมที่เหมาะสมในทุกตำแหน่ง และจะไม่มีแรงถีบใดๆ จากคันเหยียบบันได้อีก 

ส่วนในระบบที่มี POE ไม่จำกัดหรือมี POE จำนวนมาก มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิด Pedal Kick-back

ดังตัวอย่างต่อไปนี้ หมายความว่า หากมุมปะทะน้อยกว่า 6.8° ก็มีโอกาสสูงที่จะเกิด Pedal Kickback

อย่างไรก็ตาม ยิ่งมีมุมปะทะมากขึ้น ความเป็นไปได้ที่จะเกิด Pedal Kickback กลับยิ่งต่ำลง

 

ยิ่งมีจุดปะทะมากขึ้น =  ศักยภาพในการเกิด Pedal Kickback ก็ยิ่งสูงขึ้น*

1: ไม่มีการปะทะ 2. มุมปะทะ 10º 3: มุมปะทะ  <6.8º 

หมายเหตุเพิ่มเติม

ขณะปั่นจักรยาน ดุมล้อจะหมุนด้วยความเร็วด้วยอัตราคงที่ ส่วนในการเร่งความเร็ว Freehub Body ต้องปะทะกับดุมล้อ ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ Cassette 

หมุนเร็วกว่าดุม หากความเร็วเชิงมุมของดุมเร็วกว่าความเร็วเชิงมุมของ Cassette นั้น FreehubBody จะไม่สามารถเกิดการปะทะและล้อจะไม่เร่งความเร็ว

10

สำหรับการเหยียบคันเร่ง Pedal Kickback หมายความว่า หากความเร็วเชิงมุมของดุมสูงกว่าความเร็วของตัวฟรีฮับที่เกิดจากความตึงของโซ่ 

จะไม่เกิดการดีดกลับของคันเหยียบหรือผลกระทบด้านลบต่อระบบกันสะเทือนของคุณ แต่การเข้าถึงความเร็ววิกฤตนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย 

เพราะยิ่งคุณขี่เร็วเท่าใด โอกาสในการกดอัดที่หนักขึ้นก็จะยิ่งสูงขึ้น และความเร็วของตัว Freehub ที่โซ่ก็จะไปถึงเร็วขึ้น

อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตด้วยว่าจลนศาสตร์ของจักรยานยนต์บางคันไม่มีการดีดกลับจากคันเหยียบ

บทสรุป

ในการพัฒนาระบบ Freehub ที่เหมาะสมที่สุด เชื่อว่า ต้องพิจารณาถึงปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ น้ำหนัก และจุดปะทะ 

แต่คุณต้องจำไว้ว่ามีการแลกเปลี่ยน (trade-off) ระหว่าง 3 ปัจจัยข้างต้นนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งระบบที่มีจุดปะทะมากขึ้น 

จำเป็นต้องขยายโครงสร้างดูมล้อ แต่นั้นก็เป็นการทำให้น้ำหนักสูงขึ้นไปอีก

อย่างไรก็ตาม แทนที่จะเป็นการช่วยลดมุมปะทะ กลับต้องเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบให้สูงขึ้น เรายังเชื่อว่า ระบบที่มี จุดปะ 36 องศา 

แสดงถึงการเพิ่มประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในมุมมองสามมิตินี้ในแง่ของความน่าเชื่อถือ น้ำหนัก และจุดปะทะ ดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น 

11

ชุดแปลง Conversion Kit

เรารู้ดีว่า นักปั่นจักรยานบางท่าน เช่น นักปั่นจักรยานมือสมัครเล่นนั้น มุนปะทะเล็กๆก็กลายเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดังนั้นเราจึงขอนำเสนอชุดแปลง 54t Conversion Kit ซึ่งช่วยลดมุมปะทะได้ถุง 6.7"


12


Share :

ย้อนกลับ
2016 ASIABIKE warranty Term & Conditions Professionals