อยากเป็นขาแรงต้องทำอย่างไร ? ตอนที่ 2 | ARTICLES | AsiaBike (asiabike.com )
Find a retailer CustomerRegister History Subscribe CALL CENTER +66 81 133 0063
 


ARTICLES

Promotion !!

Event & NEWS

innovation

  » BMC Innovations

  » Vittoria Innovations

  » BH Innovations

  » Ridley Innovations

  » HOPE Innovations

  » DT Swiss Innovations

  » Reynold Innovations

  » Look Innovation

  » Lameda Innovation

  » EKOI Innovations

  » LIMAR Innovation

  » FAST Innovation

  » Corima Innovation

Product Review

Technique

  » Elite Trainer

อยากเป็นขาแรงต้องทำอย่างไร ? ตอนที่ 2
ผู้แต่ง อ.ปราจิน รุ่งโรจน์  , 31/07/2011 09:00 , ผู้ชม 14457 , หัวข้อ : Technique

อยากเป็นขาแรงต้องทำอย่างไร ?

รถดี(Good Bike)
          ปัจจุบันการผลิตรถจักรยานได้ถูกพัฒนาให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้นตาม นวัตกรรมและเทคโนโลยี่ทีเปลี่ยนไป วัสดุที่นำมาสร้างแฟรมจักรยาน เริ่มจาก  เหล็ก โครโมลี่  อลูมิเนียม ไทเตเนี่ยม และคาร์บอน ซึ่งกระแสหรือสายการผลิตของจักรยานแข่งขันในโลกปัจจุบัน นิยมใช้ “คาร์บอน” เป็นวัสดุในการการผลิตเป็นหลัก  เนื่องจากมีน้ำหนักเบา ทนทาน ราคาสมเหตุสมผล  ผู้เขียนใช้จักรยานแข่งขันประเภทถนนที่เป็นคาร์บอน  ทั้งคันที่ใช้เทคนิคการผลิตจากเครื่องจักรสมัยใหม่(ผลิตที่ไต้หวั่น) การผลิตจักรยานคาร์บอน จะเป็นชิ้นเดียว หรือที่เรียกว่า “โมโนกรองค์” ซึ่งเป็นรูปแบบการผลิตที่นิยมมากในปัจจุบัน  ผู้เขียนเคยขี่รถจักรยานที่ตัวถังทำมาจากวัสดุ ที่เป็นเหล็ก  โครโมลี่ อลูมิเนียม คาร์บอน  และไทเตเยี่ยม พบว่า

- ตัวถังที่ทำด้วยเหล็ก :
      แข็งแรง ทนทานดี แต่มีน้ำหนักมาก และเป็นสนิม การบำรุงรักษายาก เหมาะกับการใช้งานขนส่ง

- ตัวถังที่ทำด้วยโครโมลี่ : 
     มีน้ำหนักเบาขึ้นเล็กน้อย ทนทานดี การบำรุงรักษาง่ายขึ้น แต่ไม่นิยมใช้แข่งขัน

- ตัวถังที่ทำด้วยอลูมิเนียม : 
     มีน้ำหนักเบา ปัจจุบัน นิยมใช้ผลิตตัวถังแข่งขันทั้งเสือภูเขา และเสือหมอบระดับกลางๆ

- ตัวถังที่ทำด้วยไทเตเนี่ยม : 
มีน้ำหนักเบา แข็งแกร่ง แต่มีการเสื่อมของข้อต่อง่าย คือใช้ได้ปีเดียวก็ป่วย (รอยร้าว) ราคาค่อนข้างแพง เนื่องจากมีขบวนการผลิตค่อนข้างยาก

- ตัวถังที่ทำด้วยคาร์บอน : 
     มีน้ำหนักเบา ทนทาน ให้ประสิทธิภาพในการปั่นได้ดีกว่า อลูมิเนียม มีขบวนการผลิตที่ทันสมัย บำรุงรักษาง่าย (ไม่มีขี้เกลือ/สนิม) ราคาสมเหตุสมผล

          สรุปว่ารถดีในสายตาของผู้เขียนก็คือ รถที่ใช้วัสดุ “คาร์บอน” มาทำเฟรม ที่ได้ถูกออกแบบ และทดสอบมาเป็นอย่างดีแล้วจากนักปั่นในระดับมืออาชีพ(นักจักรยานอาชีพ) ที่กะรันตีการตอบสนองในการปั่นได้ดีเยี่ยม ทั้งขี่สบาย รถขี่พุ่ง และประหยัดแรง (รถเบา)โดยเฉพาะทุกๆสะโตก ที่ปั่นลูกบันได ปัจจุบันผู้เขียนใช้รถจักรยานคาร์บอนประเภทถนน CKT 368 RS และ รถจักรยานเสือภูเขา WHEELER  EAGLE  LTD   ซึ่งใช้แข่งและฝึกซ้อม ได้รับชัยชนะในสนามแข่งมาโดยตลอด 
โดยมีรายละเอียดดังนี้
          รถถนน CKT 368 RS เป็นรถที่ใช้การสร้างตัวถังแบบ “โมโน กร๊อง” หรือ ชิ้นเดียว เวลาขี่รถจะเสถียรมาก โดยเฉพาะเมื่อต้องขี่ในขณะความเร็วสูงๆ เช่นขี่ลงเขา ขี่จี้รถยนต์ (มอเตอร์ไซค์/รถสิบล้อ) รถถนนคันนี้ผู้เขียนใช้เวลาทำความคุ้นเคยฝึกซ้อมกับมันเพียงเดือนกว่าๆก็สามารถขี่ได้รวดเร็ว ฉับไว ดังใจ (ชนะเลิศการแข่งขันจักรยานหัวหินคราสสิก 2010 ชิงถ้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาท) 
รถเสือภูเขา WHEELER  EAGLE  LTD    เป็นรถเสือภูเขาระดับ  “ไฮเอ็น” ของวีลเลอร์ที่ใช้เทคโนโลยี่ในการผลิตเช่นเดียวกับรถแข่งเสือภูเขาระดับแนวหน้าในปัจจุบัน(ส่วนมากเป็นชิ้นเดียว) ความรู้สึกที่ได้ขี่วีลเลอร์ อีเกิล แอล ที ดี ก็คือมันเป็นรถที่เบาเอามากๆขี่ขึ้นเขาได้ดีมาก ขณะเดียวกันก็สามารถขี่ลงเขาได้พลิ้วไหว รวดเร็ว (อยู่ที่ฝีมือ) ทั้งๆที่เป็นรถ “ฮาร์ท เท็ล” ซึ่งการบังคับรถยากมากว่ารถเสือภูเขาแบบ “ฟูลซัส สเป็น ชั่น”  ผู้เขียนอยากให้ชาวเสือได้ลองขี่ดูจึงจะรู้ว่ารถรุ่นนี้ไม่เป็นรองใครในสนามแข่งขัน.

เทคนิคดี( Good Technical)
          เมื่อเรามีอุปกรณ์ดี(รถแข่ง)แล้วสิ่งที่ชาวเสือต้องทำก็คือการฝึกเทคนิคในการใช้รถที่ดีแล้วนั้นให้ได้ประโยชน์สูงสุดเต็มศักยภาพของรถนั้นๆ  เทคนิค  เป็นวิธีการใช้ที่นักปั่นต้องเรียนรู้จากการทดลอง(ลองผิดลองถูก) ที่ใช้ในชีวิตจริง  ความจริงรถทุกๆคันจะต้องมีคู่มือการใช้เหมือนกับเราซื้อรถยนต์  แต่เราสามรถขอคำแนะนำจากผู้ขายได้ว่าวิธีการใช้ที่จำเป็น ที่ควรระมัดระวังมีอะไรบ้าง  (ผู้ขายควรจะอธิบายได้) เมื่อเราประกอบรถเป็นคันสมบูรณ์แบบแล้ว เทคนิคที่ต้องเรียนรู้พื้นฐาน เช่น การถอดล้อ-ใส่ล้อ  การใช้เบรก  การใช้เกียร์ การบำรุงรักษา การหยอดน้ำมันโซ่  เป็นต้น  ฉะนั้น ชาวเสือที่ขี่จักรยานแข่งขันแล้วโซ่ชอบขาด  ส่วนหนึ่งมาจากขาดความชำนาญในเรื่องของเทคนิคการใช้เกียร์ครับ เช่นเปลี่ยนเกียร์ไม่ทันในขณะที่เลี้ยวขึ้นทางชัน ทำให้ต้องโหมกดลูกบันไดอย่างแรงเพื่อให้สามารถขี่ขึ้นได้   แต่รถยังอยู่ในเกียร์ที่หนักจึงทำให้โซ่เกิดแรงเค้นมากจนขาดได้(เคยพบเห็นบ่อยในสนามแข่ง)  เทคนิคที่ดีจะต้องได้รับการฝึกฝนจนเกิดเป็นความชำนาญในเกือบทุกๆเทคนิคก็จะทำให้ ชาวเสือขี่จักรยานได้สนุกและมีความสุขมากยิ่งขึ้นครับ


Share :

ย้อนกลับ
2016 ASIABIKE warranty Term & Conditions Professionals