Start to Finish "เรื่องเล่าจากสนามแข่ง 6" | ARTICLES | AsiaBike (asiabike.com )
Find a retailer CustomerRegister History Subscribe CALL CENTER +66 81 133 0063
 


ARTICLES

Promotion !!

Event & NEWS

innovation

  » BMC Innovations

  » Vittoria Innovations

  » BH Innovations

  » Ridley Innovations

  » HOPE Innovations

  » DT Swiss Innovations

  » Reynold Innovations

  » Look Innovation

  » Lameda Innovation

  » EKOI Innovations

  » LIMAR Innovation

  » FAST Innovation

  » Corima Innovation

Product Review

Technique

  » Elite Trainer

Start to Finish "เรื่องเล่าจากสนามแข่ง 6"
ผู้แต่ง อ.ปราจิน รุ่งโรจน์  , 30/12/2011 09:00 , ผู้ชม 2641 , หัวข้อ : Technique

          การแข่งขันจักรยานเสือภูเขาในประเทศไทยมีให้แข่งขันกันทุกเดือนซึ่งผู้จัดมีทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีผู้ขี่จักรยานเสือภูเขาและเสือหมอบออกกำลังกายและฝึกซ้อมกีฬาเพื่อแข่งขันเป็นจำนวนมาก สังเกตได้จากวัน "Car Free Day " ว่ามีผู้คนคนขี่จักรยานมาเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้นๆทุกๆปี จากจุดเริ่มต้นเพียงไม่กี่ร้อยคน ในอดีต ปัจจุบันมีมากถึง 3-4 พันกว่าคนแล้ว ซึ่งดูแล้วก็น่าภูมิใจแทนจังหวัดชลบุรีที่มีเส้นทางจักรยานและผู้คนหันมารักสุขภาพโดยการขี่จักรยานกันมากยิ่งขึ้น การแข่งขันจักรยานเสือภูเขา รายการ DASTA MOUNTHAI BIKE CHALLENGE 2011ที่บริเวณอ่างเก็บน้ำมาบประชันพัทยา ในวันที่ 25 กันยายน 2554 ก็เป็นอีกรายการหนึ่งที่ "เสือเฒ่า เทอร์โบ" เข้าร่วมการแข่งขัน เพราะอยู่ไม่ไกลจากบ้านมากนักมันประหยัดรายจ่ายสนามนี้นักปั่นมือใหม่และมืออาชีพชื่นชอบกันมากเพราะเป็นสนามที่ขี่ไม่ยาก แต่ก็ได้ความสนุกในรูปแบบของการขี่เสือภูเขาที่ต้องใช้เทคนิคการขี่ผ่านเส้นทางแข่งขันกันตลอดเวลา ที่สำคัญถ้าไม่ "ฟิต" ก็เหนื่อยสุดๆ เช่นกัน มีพี่น้องชาวเสือหลายคนต้องออกจากการแข่งขันเพราะเกิดอุบัติเหตุ รถพัง ยางรั่ว ล้ม เป็นต้น

           เสือเฒ่า เทอร์โบ มีโอกาสไปซ้อมที่สนามแข่งขันจริงมาแล้วทำให้รู้ว่าต้องเปลี่ยนเฟืองเป็น 11-34 เพื่อความคล่องตัวในการขี่บนเส้นทาง "ซิงเกิลแทรก" (ทุกสนามต้องมี) ที่เป็นเส้นทางเล็กๆ กว้างประมาณ 1-2 ฟุต ไม่สามารถขี่แซงกันได้เพราะทางแคบนั่นเอง ความจริงคนที่จะจัดแข่งขันได้ดีจะต้อง "ออกแบบสนามแข่งขัน" ให้ดีและท้าทายความสามารถของนักแข่งที่เข้าร่วมการแข่งขัน ระยะความยาวของสนามต่อหนึ่งรอบ อยู่ระหว่าง 7 กิโลเมตร จะดีเพราะเป็นสนามที่ พ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง หรือแม้แต่ผู้สนใจก็สามารถเดินทางเข้าไปชมการแข่งขันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะ "แอ๊กชั่น" ของนักปั่นในดวงใจในสนามแข่งได้ โดยเฉพาะจุด "ไฮไลท์"ต่างๆที่ออกแบบมา เช่น ช่วงเทคนิคแซงชั่น ทางลงชันเลี้ยว ซิก แซกไปมา หรือ ขึ้นเขาชัน ที่มีอุปสรรคจากก้อน รากไม้ เป็นต้น

           ยังมีความเข้าใจที่ผิดๆในเรื่องของเส้นชัยที่ออกแบบให้ขี่เลี้ยว ซิกแซกไปมา เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสิน ความจริงก่อนถึงเส้นชัยจะต้องเป็นทางตรงอย่างน้อย 100 – 150 เมตรเป็นอย่างต่ำ เพื่อเปิดโอกาสให้นักกีฬาได้ "สปริ้นท์กันหน้าเส้นในกรณีที่หนีกันไม่หลุด เป็น ไฮไลท์ที่น่าตื่นเต้นเป็นที่สุดครับ แต่ถึงอย่างไรก็ตามเมืองไทยของเราก็เริ่มมีพัฒนาการการจัดการแข่งขันได้ดีขึ้นเรื่อยๆ และการจัดการแข่งขันเสือภูเขาทางเรียบก็เริ่มเป็นที่นิยมจัดแข่งขันกันมากขึ้น(เป็นการแข่งขันบนถนนลาดยาง) ที่เป็นเช่นนี้เพราะลงทุนน้อย ประหยัดเวลา และได้กำไรมากเพราะ ไม่ต้องไปเสียเงินทำเส้นทางเหมือนการแข่งขัน "ครอส คัน ทรี" เพียงแต่ออกสำรวจเส้นทาง(ถนน)ที่จะใช้แข่งขันระยะทาง ตั้งแต่ 20 – 60 กิโลเมตรก็ใช้ได้ โดยจัดเจ้าหน้าที่อาสาสมัครรักษาความปลอดภัยเข้าควบคุมเส้นทางตามแยกต่างๆเพื่อไม่ให้หลงทางก็จบ อบจ. อบต. และเทศบาลต่างๆ ในต่างจังหวัดน่าจะจัดแข่งขันได้ดีในเรื่องนี้ เพราะมีงบประมาณสนับสนุนให้คนหันมาออกกำลังกายอยู่แล้วครับ 

           การแข่งขัน DASTA MOUNTHAIN BIKE CHALLENGE 2011 นี่ก็เช่นกันเป็นการจัดการแข่งขันของ องค์การพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ดำเนินการจัดการแข่งขันโดยชมรมจักรยานเมืองพัทยา จัดการแข่งขันในวันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน 2554 ซึ่งเสือเฒ่า เทอร์โบ ได้เดินทางไปร่วมการแข่งขันในรายการนี้ด้วย ใจจริงต้องการไปดูขีดความสมารถของนักกีฬาเสือภูเขา 3 คน (อิ้ง นัท และเอฟ) ที่ผู้เขียนเป็น "โค้ช" ฝึกสอนให้ว่ามีขีดความสามารถในการแข่งขันพัฒนาขึ้นอย่างไรในเรื่องดังต่อไปนี้ ด้านความอดทน (Endurance) ความแข็งแรง (Strength) ความเร็ว (Speed) และไหวพริบในการแข่งขัน

           ภาคเช้าจะเริ่มแข่งขันตั้งแต่เวลา 9.00 น. ในประเภท B และรุ่นแรกที่แข่งขันคือรุ่นอายุไม่เกิน 15 ปีชายขี่ 3 รอบ รอบละประมาณ 7 กิโลเมตร รุ่นนี้ "เจ้าเอฟ"(ยายุ 14 ปี) ขี่ 3 รอบ ลงแข่งขัน เมื่อสิ้นสัญญาณปล่อยตัวนักปั่นหน้ามลคนหนุ่มทั้งหลายก็ทะยานปั่นออกไปอย่างรวดเร็ว เจ้าเอฟออกตัวไปแล้วตำแหน่งในกลุ่มยังไม่ค่อยดี (อยู่ประมาณที่ 7 ) ผู้เขียนจึงส่งสัญญาณมือที่เป็นที่รู้กันเฉพาะโค้ชและนักกีฬาเท่านั้นบอก เป็นการแข่งขันขี่วนรอบสนามทวนเข็มนาฬิกา อ้าวนั่นกลุ่มขี่หนีขาดออกมาเลย 2 คน แต่เจ้าเอฟหายไปไหน โผล่ออกมาอีกที่เขาขี่จี้มากับกลุ่มใหญ่ ทำให้ผู้เขียนต้องใช้เสียงกระตุ้นบอกให้เปลี่ยนตำแหน่งขี่ขึ้นไปข้างหน้า แต่ในที่สุดก็ขี่ครบ 3 รอบพร้อมกับตำแหน่งที่ 7 (สนามนี้มีถ้วยให้ถึงตำแหน่งที่ 10 )

          จบจากรุ่นอายุไม่เกิน 15 ปีก็ต่อด้วยการปล่อยตัวรุ่นอายุไม่เกิน 12 ปีชาย ขี่ 2 รอบ ซึ่ง "เจ้าอิ้ง" ลงแข่งขัน การปล่อยตัวเริ่มขึ้นเจ้าอิ้งออกตัวได้ดีและอยู่ในตำแหน่งที่วางแผนเอาไว้ รอบที่หนึ่งผ่านพ้นไป ผู้เขียนส่งซิกให้เห็นเจ้าอิ้งรู้ได้ทันที่ว่ารอบต่อไปตนเองจะต้องทำอะไร และเป็นดังที่คาดเอาไว้เจ้าอิ้งฉีกหนีคู่แข่งนำโด่งมาคนเดียว โดยทิ้งคู่แข่งทิ้งห่างประมาณ 1 นาที ขี่เข้าเส้นชัยไปอย่างมีความสุข อิ้ง สามารถใช้ไหวพริบได้ดี(ฉลาด)ในสนามแข่งขัน โดยเฉพาะทำได้ตามแผนที่โค้ชวางเอาไว้ให้ เป็นเรื่องน่าภูมิใจสำหรับคุณแม่ของอิ้งที่เกาะติดสถานการณ์การแข่งขันตลอดเวลา(เชียร์)

           ต่อไปเป็นการแข่งขันในรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ขี่ 3 รอบสนาม "เจ้านัท" ลงทำการแข่งขันในรุ่นนี้ ก่อนการแข่งขันเจ้านัดขี่อบอุ่นร่างกายประมาณ 20 นาที หลังจากนั้น ผู้เขียนก็นวดขาให้เพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตให้ดียิ่งขึ้นก่อนการปล่อยตัวประมาณ 5 นาที เจ้านัทดูจะมีความมั่นใจมาก เดินเข้าเส้นเริ่มต้นพร้อมๆกับนักแข่งคนอื่นๆในรุ่นไปอยู่ด้านหน้า (เป็นตำแหน่งที่สำคัญ) ผู้เขียนนัดแนะกับเจ้านัดแล้วก็ขี่จักรยานไปรอดูอยู่ด้านหน้าห่างจากเส้นชัยประมาณ 800 เมตร เสียงสัญญาณปล่อยดังขึ้นกลุ่มนักปั่นขาแรงทั้งหลายต่างยกสปริ้นท์แย่งกันขึ้นหน้า พอขี่มาถึงตรงที่ผู้เขียนยืนอยู่ ในฐานะโค้ช จึงส่งสัญญาณ ให้ทราบ เป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้ รอบที่ 1 และ 2 ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่พอขึ้นรอบที่ 3 ผู้เขียนให้สัญญาณอีกครั้ง ซึ่งเจ้านัท พยักหน้าตอบว่าเข้าใจว่าจะต้องทำอะไร คราวนี้ก็มารอดูผลว่าเขาจะทำได้ตามแผนที่วางเอาไว้หรือไม่ ในที่สุดเจ้านัทก็สามารถขี่หนีเดี่ยวนำโด่งออกมาทิ้งคู่แข่งแบบไม่เห็นกันเลยขี่เข้าเส้นชัยได้เป็นที่ 1 สมใจ

           สรุปว่าเจ้าเสือทั้งสามคนที่ผู้เขียนเป็นโค้ชให้ประสบความสำเร็จตามที่หวังเอาไว้ แต่ก็มีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไขในสนามต่อๆไป เพราะกำลังเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสนามแข่งขัน ซึ่งนักกีฬาจะต้องสามารถช่วยเหลือตนเองให้ผ่านพ้นวิกฤษจากการแข่งขันนั้นๆไปให้ได้

           การแข่งขันประเภท A จะเริ่มในตอนบ่าย 1 โมงเป็นต้นไป ในรุ่น 55-59 ปีที่ผู้เขียนลงแข่งจะปล่อยตัวเป็นรุ่นสุดท้าย แข่ง 3 รอบ ก่อนการแข่งขันสิ่งที่นักกีฬาทุกๆคนต้องปฎิบัติคือการอบอุ่นร่างกายให้เกิดความพร้อมให้มากที่สุด เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการแข่งขัน เสือเฒ่า เทอร์โบ ใช้เวลาอบอุ่นร่างกายโดยการปั่นลูกกลิ้งอยู่ภายใต้ร่มเงาของต้นปาล์ม ปั่นกระตุ้นกล้ามเนื้อให้ตื่นตัวจากการหยุดนิ่งอยู่เฉยๆ จนกล้ามเนื้อเกิดความอบอุ่นขึ้นจากอุณหภูมิปกติเป็นผลให้เหงื่อไหลซึมออกมาตามร่างกายทั่วทุกขุมขน นั่นก็แสดงว่าขณะนี้ร่างกายพร้อมที่จะทำงานหนักจากการแข่งขันแล้วครับ

           ผู้เขียนใช้เวลาอบอุ่นร่างกายอยู่ประมาณ 15 นาทีจึงหยุดแล้วลงมานวดกล้ามเนื้อขาทั้งหมดเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตในบริเวณกล้ามเนื้อขาให้ดีขึ้น ผู้เขียนพร้อมแล้ว(ที่จะเหนื่อย)จึงเดินไปเข้าเส้นเริ่มต้นพร้อมกับพี่น้องชาวเสือรุ่น 55 ปีขึ้นทั้งหลาย เตรียมปล่อยตัว เมื่อได้เวลาอันเหมาะสมกรรมการจึงปล่อยตัวรุ่นลายคราม(คนแก่)ออกไป เหมือนเช่นเดิมผู้เขียนยิงขึ้นนำทันทีเป็นคนแรกพุ่งทะยานไปอย่างรวดเร็ว โดยมีบรรดาเสือเขี้ยวลากดิน(อายุมากแล้ว)ทั้งหลายขี่ไล่จี้มาติดๆ เสือเฒ่า เทอร์ จึงชะลอความเร็วลงเพื่อให้เสือที่ว่าขึ้นมาขี่นำบางส่วนผู้เขียนก็ถอยลงมาเป็นฝ่ายขี่จี้ตามบ้างในตำแหน่งที่ 2 เพื่อปรับสภาพร่างกายให้หายเหนื่อย เส้นทางเริ่มขึ้น – ลง มีเนินยาวให้ได้จังหวะพอดี เสือเฒ่า เทอร์โบ จึงออกลายกระชากหนีขี่ขึ้นเนินยาวไปอย่างรวดเร็วทำให้กลุ่มตามทั้งหลายหลุดกระจาย ไม่มีเวลาพอที่จะหันมาดูผลงาน ผู้เขียนจึงรีบเร่งความเร็วให้มากขึ้นกระโดดเนินประปา ลอยขึ้นเหนืออากาศก่อนที่จะลงทางชันนิดๆ ตอนนี้ความเร็วรอบขาดีเหลือเกินทำให้สามารถขี่ไล่แซงกลุ่มอายุ 50-54 ได้หลายคน ผู้เขียนขี่ แซงไปเรื่อยจนเกือบถึงหัวแถว ที่จำได้เพราะ STEEP เพื่อชาวอเมริกันที่ได้ตำแหน่งที่ 2 ในรุ่น 50-54 ปีก็ถูกผู้เขียนขี่แซงตั้งแต่รอบแรกเหมือนกัน

           ผู้เขียนยังสามารถขี่หนีนำโด่งมาคนเดียวตลอดตั้งแต่รอบแรกจนถึงรอบสุดท้ายและชนะเลิศไปในที่สุด ในระหว่างการแข่งขัน 3 รอบ ระบบเกียร์ของผู้เขียนเกิดรวนขึ้นมา เนื่องจากบางช่วงทางสะเทือน มากมีรากไม้ มีโคลน ซึ่งเป็นเรื่องปกติใสนามแข่งขัน ผู้เขียนเชื่อว่าพี่น้องชาวเสือทั้งหลายคงเคยเป็นเหมือนกันถ้าเป็นนักแข่งจักรยาน(เสือภูเขา) เพราะในแต่ละสนามจะพบเห็นเสือบางคน โซ่ขาด ยางแตก เกียร์พัง สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับนักปั่นเสมอแต่ถ้ามี "เทคนิคเชิงช่าง" ก็สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเหล่านั้นได้โดยที่ไม่ต้องหยุดรถให้เสียเวลา ยกตัวอย่าง เช่น โซ่ติด(เนื่องจากโซ่สกปรก)ไม่ควรฝืนถีบบันลูกบันไดไปข้างหน้าเพราะจะทำให้เกียร์คุณพังแน่นอน แต่วิธีแก้ไขควรปั่นลูกบันไดถอยหลัง 2- 3 รอบแล้วก็ปั่นต่อไปได้ ส่วนเกียร์รวนก็ให้เอื่อมมือซ้ายไปปรับความตึงของสายเกียร์โดยใช้หัวแม่มือขวาที่จับแฮนด์อยู่ดันไปที่ชิพเตอร์เปลี่ยนเกียร์ไปข้างเล็กน้อยจะทำให้การปรับสายเกียร์ให้ตึงขึ้นทำได้ง่าย พอปล่อยหัวแม่ขวาออกจากชิพเตอร์เกียร์ก็จะพอดีสังเกตจากการวิ่งของโซ่จักรยานจะวิ่งเรียบไม่มีเสียงดังแคลกๆให้รำคาญใจ

           ครับชัยชนะในการแข่งขันไม่ใช่ได้มาง่ายๆโดยไม่ลงทุนลงแรง เพราะผู้เขียนเชื่อว่าพี่น้องชาวเสือทุกท่านมีโอกาสขึ้นยืนแป้นสูงที่สุด(ที่ 1) กันทุกคนถ้าขยันฝึกซ้อมร่ากายมาเป็นอย่างดี เราทุกคนต้องฝึกซ้อมครับ แม้แต่ผู้เขียนเองก็ต้องฝึกซ้อม(ออกแรง) เปรียบเสมือนการเอาเงินไปฝากธนาคารทุกๆวันเงินของเราก็จะเพิ่มขึ้นทุกวัน เช่นกันถ้าเราออกแรงฝึกซ้อมทุกวันเราก็จะได้แรงเหล่านั้นกลับคืนมา ยิ่งออกแรงมากยิ่งมีแรงมาก(ขาแรงจ่ะ)ครับ นักปั่นชาวเสือหลากหลายคนที่เวลาซ้อมไม่ค่อยออกแรงเพราะชอบเป็น "ชาวเกาะ" ที่เวลาซ้อมชอบขี่จี้เกาะกลุ่มอยู่ข้างหลังไม่ยอมเสียแรงขึ้นขี่นำ(ออมแรง) แต่เวลาแข่งจะไปขี่หนีบอกได้คำเดียวว่า "ยาก" เพราะเวลาซ้อมคุณไม่ฝึกออกแรงให้เต็มที่เหมือนกับการแข่งขัน อย่าลืมว่าร่างกาย "ยิ่งฝึกยิ่งชำนาญ ยิ่งขยันยิ่งได้เปรียบ ยิ่งพยายามยิ่งประความสำเร็จ" นะครับ และเมื่อใดก็ตามที่คุณขี้เกียจฝึกซ้อม(แม้แต่เป็นแชมป์)คุณก็จะพลาดโอกาสที่ดีๆที่ควรได้รับจากสนามแข่งขันไปอย่างน่าเสียดาย ดังคำกล่าวที่ว่า "ความขี้เกียจเป็นศัตรูตัวรายที่ปล้นชัยชนะไปจากตัวคุณ" สวัสดีครับ

Share :

ย้อนกลับ
2016 ASIABIKE warranty Term & Conditions Professionals